วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

รูปแบบของความรัก

1. ความรักแบบเสน่หา (Eros)
ความรักเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตแม้จะไม่มากพอที่จะทำลายตนเองรู้สึกถูกใจอีกฝ่ายตั้งแตแรกเห็นคล้ายรักแรกพบความดึงดูดใจซึ่งกันและกันแสดงออกมาทั้งคำพูดและการแสดงความใกล้ชิดอยากเจอกันทุกวันถ้าเป็นไปได้วาดฝันเกี่ยวกับอีกฝ่ายไว้งดงามและไม่ได้คาดการณ์ถึงอุปสรรคใด ๆคู่รักประเภทนี้พยายามพัฒนาสัมพันธภาพกับคู่ของตนอย่างรวดเร็ว
โดยการ เปิดเผย ซื่อสัตย์ และจริงใจใส่ใจคู่รักมากเป็นพิเศษแต่ไม่แสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของหรือกลัวว่าจะมีคู่แข่ง

2. ความรักแบบไม่ผูกมัด (Ludus)
ความรักเป็นเกมชนิดหนึ่งเพื่อความบันเทิงของทั้งสองฝ่ายหลีกเลี่ยงการ ผูกมัด สามารถผลัดเปลี่ยนคู่ไปได้เรื่อยๆพยายามที่จะไม่สร้างความผูกพันทางอารมณ์อย่างลึกซึ้งกับใคร เพื่อรักษาความเป็นอิสระของตนถึงแม้จะไม่ต้องการทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวดแต่การโกหกและความไม่จริงใจถือว่าเป็นการเล่นตามกติกาที่มีความรักแบบนี้จะไม่หึงหวงหรือแสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของและอาจเห็นชอบให้คู่ของตนมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลในความสัมพันธ์ของตน

3. ความรักแบบมิตรภาพ (Storge)
ความรักพัฒนามาจากมิตรภาพเป็นความรู้สึกรักใคร่อันเนื่องมาจากการคบหากันมาเป็นเวลานานไม่ได้มีความ รู้สึกตื่นเต้น เร่าร้อน แต่เน้นการที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันและมีกิจกรรมร่วมกันความรักเป็นสิ่งที่มั่นคงที่ผนวกเข้าไปกับการดำรงชีวิตตามปกติ

4. ความรักแบบลุ่มหลง (Mania)
ผู้ที่มีความรักแบบนี้จะใฝ่หาความรัก แต่เชื่อว่าความรักเป็นความเจ็บปวดปรารถนาความใกล้ชิดและต้องการความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ต้องการให้คู่รักของตนแสดงความรักมากกว่าปกติ
เมื่อใดที่คู่ไม่ได้แสดงความใส่ใจ หรือไม่แสดงความรักตามที่ปรารถนาอาจจะทำร้ายตนเพื่อเอาชนะความรักคู่รักประเภทนี้เชื่อว่าเมื่อปราศจากความรักจากอีกฝ่ายชีวิตก็ไม่มีคุณค่าอีกต่อไป

5. ความรักแบบมีเหตุผล (Pragma)
เป็นความรักที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริงผู้ที่มีความรักแบบนี้จะแสวงหาคู่ที่เหมาะสมกับตนมากที่สุดเชื่อว่าความสัมพันธ์จะราบรื่นก็ต่อเมื่อคู่รักสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของกันและกันได้แสวงหาคนที่มีลักษณะคล้ายตนหรือต่างจากตนแต่ช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดการเลือกคู่จะมีลักษณะคล้ายรักเผื่อเลือกทั้งนี้ก็เพราะคาดหวังสัมพันธภาพที่ยั่งยืน

6. ความรักแบบเสียสละ (Agape)
เป็นความรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัวต้องการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับมีความห่วงใยและคำนึงถึงความสุขของคู่รักเป็นสำค ัญโดยไม่ใส่ใจกับความต้องการของตนเอง"การให้" เป็นปัจจัยสำคัญของความรักแบบนี้ นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาพบว่าในชีวิตจริงคู่สมรสจะมีรูปแบบความรักที่คล้ายคลึงกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคู่ที่มีความสัมพันธ์ยาวนานกับคู่ที่เลิกราไป
พบว่าประเภทแรกจะมีความรักแบบเสน่หาสูงกว่าและมีความรักแบบไม่ผูกมัดต่ำกว่าประเภทหลังรูปแบบของความรักอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลและลักษณะของบุคคลที่เรามีความสัมพันธ์ด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น